Menu
BCAA กับผู้สูงอายุ

ทำไม BCAA เหมาะกับผู้สูงอายุ และรักษาสภาพกล้ามเนื้อได้ดี

เมื่ออายุมากขึ้นกล้ามเนื้อและร่างกายก็เสื่อมตามกาลเวลา ความแข็งแรงก็ลดลงทำให้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน ซึ่งสามารถบำรุงได้ด้วยการเสริมกรดอะมิโนจำเป็นหลายชนิด BCAA เป็นอีกหนึ่งในกรดอะมิโนที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อได้ เหมาะกับผู้สูงอายุอย่างไร ช่วยเรื่องอะไรบ้างอยากรู้ต้องอ่าน

BCAA ช่วยเรื่องอะไร ทำไมเหมาะกับผู้สูงอายุ

BCAA รักษากล้ามเนื้อ

BCAA กรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ทำไมถึงเป็นตัวช่วยสำคัญของคนสูงวัย มีประโยชน์อย่างไรบ้างเรามีคำตอบ 

BCAA ช่วยเรื่องอะไร 

BCAA มีส่วนประกอบของกรดอะมิโนจำเป็นถึง 3 ชนิด คือ ลิวซีน, ไอโซลิวซีน, วาลีน ช่วยในเรื่องของ

  • กระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยให้พลังงานเซลล์กล้ามเนื้อ
  • ช่วยรักษาซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ผิวหนังและกระดูก
  • เร่งการเผาผลาญในกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

BCAA ต่างจากเวย์โปรตีนอย่างไร อะไรดีกว่า?

เวย์โปรตีนและ BCAA เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยในการดูแลร่างกาย จึงไม่ถือว่าเป็นสารอาหารคนละประเภท และสามารถรับประทานร่วมกันได้ หรือเลือกทานในกรณีที่ไม่ต้องการทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ อาจเลือกทาน BCAA จากโปรตีนพืชแทนได้

  • เวย์โปรตีน คือ แหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนทั้งที่จำเป็นและไม่จำเป็น
  • BCAA คือ แหล่งรวมของกรดอะมิโนจำเป็นทั้ง  3 ชนิดที่ล้วนแต่มีส่วนช่วยเรื่องกล้ามเนื้อ
  • ความเหมือนคือ ทั้งเวย์โปรตีนและ BCAA มีส่วนช่วยในเรื่องสังเคราะห์กล้ามเนื้อได้เหมือนกัน
  • ความแตกต่างคือ เวย์โปรตีนจะมีความซับซ้อนทั้งเรื่องของการสร้างกล้ามเนื้อและการดูแลร่างกายในด้านต่าง ๆ แต่ BCAA จะเน้นไปที่การช่วยสร้างโปรตีนในร่างกาย  

BCAA ต่างจาก HMB อย่างไร? อะไรดีกว่า?

HMB เป็นการย่อยกรดอะมิโนลิวซีน ซึ่งมีความต่างกับ BCAA ดังนี้

  • HMB ช่วยให้ร่างกายดูดซึมเพื่อนำไปเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ง่ายกว่า
  • BCAA ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูความเหนื่อยล้าได้มากกว่า HMB ที่ไม่มีข้อมูลชัดเจน
  • BCAA จึงเหมาะกับคนสูงอายุ และคนทั่วไปที่ต้องการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ บำรุงให้ร่างกายกับมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง มากกว่า HMB เพราะเป็นที่นิยมและยังหาซื้อได้ง่ายกว่า

ทำไม BCAA ถึงเหมาะกับผู้สูงอายุ

BCAA

BCAA สำคัญมากกับผู้สูงอายุที่ร่างกายมีการเสื่อมโทรม เพราะจะมีประโยชน์ช่วยบำรุงกล้ามเนื้อและด้านอื่น ๆ ดังนี้

ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อ

  • BCAA มีกรดอะมิโนอย่าง ไอโซลิวซีน ที่ช่วยการรักษาเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
  • จึงทำให้ผู้สูงอายุที่กังวลเรื่องมวลกล้ามเนื้อสามารถรักษากล้ามเนื้อเอาไว้ได้

สังเคราะห์โปรตีนมากขึ้น

  • BCAA มีการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมน กระตุ้นให้โปรตีนเจริญเติบโต
  • ผู้สูงอายุที่ความแข็งแรงลดลง จึงสามารถใช้ BCAA เพิ่มโปรตีนให้กับร่างกายได้มากขึ้น

ต่อต้านกระบวนการสลายโปรตีน

  • BCAA มีกรดอะมิโนไอโซลิวซีน ที่ช่วยในการลดการสลายของกล้ามเนื้อ
  • การทาน BCAA จึงช่วยลดการสลายของโปรตีน
  • BCAA จึงเหมาะกับผู้สูงอายุที่ร่างกายอ่อนแอลง หรือผู้ที่ออกกำลังกาย เพราะป้องกันให้ร่างกายแข็งแรง คงทนมากขึ้น

เพิ่มพลังงานให้ร่างกาย

  • ร่างกายสามารถดูดซึม BCAA ไปใช้ได้ทันที จึงทำให้ร่างกายแข็งแรงตื่นตัวได้ง่าย
  • ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้นานขึ้น

ฟื้นฟูและลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ

  • BCAA คือสารตั้งต้นของกรดอะมิโนต่าง ๆ อย่างกลูตามีน ส่วนประกอบหลักของเซลล์กล้ามเนื้อ
  • กรดอะมิโนใน BCAA จึงช่วยลดอาการเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อได้
  • BCAA ยังช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บหรือสูญเสียไปหลังออกกำลังกายได้

รักษาอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ

  • ประโยชน์อื่น ๆ ของ BCAA มีอีกหลายด้าน เช่น
  • เพิ่มความแข็งแรงลดอาการแทรกซ้อนด้วยการเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว
  • เพิ่มกลูตาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระที่สร้างได้ในร่างกายทำให้ลดอาการแทรกซ้อนได้

BCAA หาได้จากที่ไหนบ้าง

ประโยชน์ของกรดอะมิโนสำคัญอย่าง BCAA เหมาะกับผู้สูงอายุและคนที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่หลายคนอาจสงสัยว่าจะหาทานได้จากที่ไหนได้บ้าง สามารถแบ่งจากอาหารทั่วไปและอาหารเสริมได้ ดังนี้

BACC ในอาหารทั่วไป

อาหารทั่วไปสามารถหาได้จากแหล่งอาหารจากเนื้อสัตว์และพืช เช่น

อาหารจำพวกเนื้อไก่

  • อกไก่ ขนาด 100 กรัม มี BCAAs 5.88 กรัม
  • เนื้อไก่ (ไก่ตอน เครื่องใน) มี BCAAs 3.437 กรัม
  • ไข่ไก่ ขนาด 100 กรัม มี BCAAs 5.2 กรัม

อาหารจำพวกเนื้อปลา

  • ทูน่ากระป๋อง ขนาด 100 กรัม มี BCAAs 5.2 กรัม
  • เนื้อปลากะพง มี BCAAs 3.171 กรัม

อาหารจำพวกนม

  • นมไขมันต่ำ 1% ขนาด 235 มล. มี BCAAs 0.785 กรัม
  • กรีกโยเกิร์ต มี BCAAs 2 กรัม

อาหารจำพวกถั่ว

  • มะม่วงหิมพานต์ มี BCAAs 3.349 กรัม
  • ถั่วชิกพี (ถั่วลูกไก่) มี BCAAs 3.207 กรัม
  • อัลมอนด์ มี BCAAs 3.076 กรัม

BACC ในอาหารเสริม

  • อาหารเสริมแคปซูล

อาหารแบบแคปซูลเป็นอาหารที่พกพาสะดวก ทานง่าย เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลา ทานหลังออกกำลังกายได้ทันที ถือเป็นอีกรูปแบบที่ง่ายและสะดวก

  • อาหารเสริมรูปแบบผง

ชงละลายน้ำดื่มง่าย สะดวกกว่าทานอาหารทั่วไป เหมาะกับคนที่ไม่ชอบการปรุงกลิ่นรสชาติ นิยมในหมู่นักกีฬาที่ต้องการให้ร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นหลังออกกำลังกาย

  • อาหารเสริมรูปแบบอื่น ๆ 

นอกจากอาหารเสริมแบบผงและแคปซูลแล้ว ในปัจจุบันยังมีอาหารเสริมอีกหลายแบบที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับกรดอะมิโนที่ควรได้รับที่ง่ายและสะดวก เช่น เครื่องดื่มที่มี BCAA โดยเฉพาะที่ช่วยคืนความสดชื่นให้ร่างกายได้ทันที

ข้อควรระวังของการทาน BCAA

แม้การทาน BCAA จะมีประโยชน์กับร่างกายอย่างมากโดยเฉพาะด้านกล้ามเนื้อ แต่หากทานมากไปหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่างอาจเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้เช่นกัน ซึ่งข้อควรระวังและคนที่ไม่ควรทานมี ดังนี้

ข้อควรระวังของ BCAA

การทาน BCAA มีข้อควรระวังในการทาน มีดังนี้

ข้อควรระวังอาการแพ้ 

โดยอาการแพ้นี้อาจมาจากการทาน BCAA มากเกินไป อาจมีอาการดังนี้

  • อาการเวียนหัว
  • ปวดหัว
  • คลื่นไส้ 
  • อาเจียน

ข้อควรระวังด้านอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อ 

เพราะการทาน BCAA มากเกินไปอาจมีความเสี่ยงรุนแรง ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อได้ง่าย จึงควรทานแต่พอดีเพื่อกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

ข้อควรระวังด้านความเสี่ยงเกิดโรค

งานวิจัยระบุว่า การทาน BCAA เกินพอดียังก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางอย่างได้ เพราะกรดอะมิโนอย่าง วาลีน ที่มากไป เช่น

  • โรคอ้วน เพราะการทานมากเกินไปอาจทำให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารมากเกินไป จนสะสมกลายเป็นไขมันที่จนนำมาสู่โรคอ้วน
  • โรคเบาหวานประเภท 2 อาจเกิดจากการทาน BCAA ปริมาณมาก จึงควรควบคุมปริมาณการทานแต่พอดี ป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา

คนที่ไม่ควรทาน BCAA

ผู้ที่ไม่ควรทาน BCAA เพราะอาจเกิดอาการแทรกซ้อน หรือผลข้างเคียงที่กระทบกับยารักษาโรคประจำตัว ควรที่จะระวังและหลีกเลี่ยงการทาน มีดังนี้

คนที่ป่วยโรคตับ

  • ผู้ป่วยโรคตับหรือผู้ที่ทานเหล้าบ่อยไม่เหมาะที่จะทาน BCAA 
  • การทาน BCAA สัมพันธ์กับอาการทางสมองของผู้ป่วยโรคตับ

คนที่ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรระวังในการทาน BCAA
  • การทาน BCAA อาจส่งผลให้การทำงานของปอดล้มเหลว 
  • เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากทานในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

คนที่ทานยารักษาเบาหวาน

  • การทาน BCAA ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
  • เมื่อทานยาเบาหวานคู่กับ BCAA อาจทำให้ระดับน้ำตาลต่ำกว่าปกติ
  • ควรปรึกษาแพทย์และตรวจค่าน้ำตาลเป็นระยะ

คนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด

  • เมื่อทาน BCAA ทำให้ระดับน้ำตาลลดลง ส่งผลต่อการควบคุมน้ำตาล
  • ควรหยุดทาน BCAA ก่อนผ่าตัด 2 สัปดาห์

คนที่ทานยาโรคพาร์กินสัน

  • เพราะ BCAA อาจลดการดูดซึมยารักษาโรคพาร์กินสัน 
  • หากทานยารักษาโรคนี้ จึงไม่ควรทาน BCAA พร้อมกัน

จะเห็นได้ว่า BCAA ไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะบางคนอาจมีอาการแพ้ หรืออาจมีปัญหาจากยารักษาโรคประจำตัว ผู้ที่ทานแล้วผิดปกติต้องหยุดทานทันที ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทาน BCAA และอาหารเสริมชนิดอื่น ๆ อยู่เสมอ

สรุป

BCAA ถือได้ว่าเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ผู้สูงอายุควรได้รับ เพราะผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยไม่เหมือนเดิม กล้ามเนื้อและระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายก็อ่อนแอลง การได้รับกรดอะมิโนจำเป็นใน BCAA จึงช่วยในเรื่องของการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ลดอาการเจ็บปวดตามร่างกาย ฟื้นฟูเซลล์กล้ามเนื้อที่สูญสลายให้กลับมา ยังช่วยให้ระบบการทำงานของสมองดีขึ้น และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่ถึงอย่างนั้นควรจำกัดปริมาณในการทาน BCAA แต่พอดี เพราะหากได้รับมากเกินไปก็อาจเกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน

«
»

Product

About

Learn

Pricacy Policy
©O&P Quality Trade Co., Ltd. All rights Reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save