Menu
กล้ามเนื้อลีบ

โรคกล้ามเนื้อลีบ คืออะไร ทางแก้สำหรับผู้สูงอายุ บำรุงอย่างไร

เมื่อก้าวเข้าสู่วัย 40 ร่างกายจะเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และเห็นได้ชัดว่าความแข็งแรงลดลงเมื่ออายุ 50 ปี เรื่องกล้ามเนื้อลดลงตามกาลเวลาหลายคนอาจไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร แต่หากปล่อยไว้อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ถึงขั้นเกิดภาวะกล้ามเนื้อลีบได้ และยังก่อให้เกิดปัญหากับการใช้ชีวิตมากกว่าที่คิดทั้งการใช้ชีวิตและเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้มากมาย อย่าปล่อยให้สายเกินไป ทำความรู้จักกับโรคกล้ามเนื้อลีบและวิธีบำรุงร่างกายของผู้สูงอายุได้ในบทความนี้

โรคกล้ามเนื้อลีบ คืออะไร

กล้ามเนื้อของผู้สูงอายุถือเป็นส่วนสำคัญในร่างกาย เพราะนอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ผู้สูงวัยแข็งแรงใช้ชีวิตได้ปกติขึ้น แต่หากปล่อยให้อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่บำรุงตั้งแต่ตอนนี้ อาจต้องเผชิญกับปัญหา กล้ามเนื้อลีบ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ได้ 

โรคกล้ามเนื้อลีบ คือ

กล้ามเนื้อลีบ (Sarcho penia) คือ อาการที่กล้ามเนื้อสูญเสียความแข็งแรง ซึ่งได้มากถึง 1 ใน 3 ของกลุ่มผู้สูงอายุ และอาจกลายเป็นปัญหาทำให้การใช้ชีวิตต้องติดขัด เพราะกล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อฝ่อ

โรคกล้ามเนื้อลีบเกิดจากอะไร

ภาวะกล้ามเนื้อลีบเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาด้านการใช้ชีวิต ซึ่งแยกสาเหตุได้ถึง 5 ข้อ ดังนี้

กล้ามเนื้อลีบจากพันธุกรรม

พันธุกรรมเป็นอีกสาเหตุที่อันตรายอย่างมากกับทารก โดยอาการของโรคมีดังนี้

  • พบได้ 1 ใน 3000 ของทารกเพศชาย
  • เกิดจากกล้ามเนื้อลีบและตายช้า ๆ เกิดความผิดปกติของยีนบนโครโมโซม X หรือโครโมโซมเพศถึงร้อยละ 75 
  • ร่างกายไม่สามารถสร้างโปรตีนได้ เนื่องจากร่างกายอ่านรหัสพันธุกรรมผิดพลาด เพราะการขาดหายของ DMD gene 

กล้ามเนื้อลีบเพราะไม่ได้ใช้งาน

สาเหตุหลัก ๆ ของกล้ามเนื้อลีบที่พบได้บ่อย คือ 

  • ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทำกิจกรรม ออกกำลังกาย หรือบริหารร่างกายบ่อย ๆ
  • ผู้ป่วยที่นอนพักนานเกินไปไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ผู้ป่วยพักฟื้นหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยติดเตียง

กล้ามเนื้อลีบจากโรคทางระบบประสาท

สาเหตุเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินประสาทมีหลายโรคด้วยกัน คือ

กล้ามเนื้อลีบจากภาวะเครียด

แม้ดูจะไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกล้ามเนื้อ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเครียด คืออีกสาเหตุที่เกี่ยวกับภาวะกล้ามเนื้อลีบนั่นก็เพราะ

  • ความเครียดทำให้เกิด ฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นตัวที่สลายกล้ามเนื้อนำมาเป็นพลังงาน 
  • การดึงเอากล้ามเนื้อมาเป็นพลังงาน จึงเป็นอีกสาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อลีบฝ่อ หรือกล้ามเนื้อลีบ
  • นอกจากนี้ความเครียดยังก่อให้เกิดโรคในผู้สูงอายุตามมาอีกมาก เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคไตเรื้อรัง

กล้ามเนื้อลีบจากภาวะอักเสบในร่างกาย

ภาวะอักเสบถือเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อลีบนั่นก็เพราะสาเหตุ ดังนี้

  • ระบบต่าง ๆ ร่างกายของคนสูงอายุมักจะอ่อนแอลง โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกัน 
  • ร่างกายติดเชื้อโรคได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคถุงลมโป่งพองจนนำไปสู่การติดเชื้อในปอดเรื้อรัง, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง, เหงือกอักเสบเรื้อรัง 
  • ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, การอักเสบของหลอดเลือดในโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

กล้ามเนื้อลีบจากภาวะขาดโปรตีน

ภาวะขาดสารอาหารและโปรตีนเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบได้ เพราะสาเหตุดังนี้

  • เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ร่างกายจะสลายกล้ามเนื้อมาใช้เป็นพลังงานแทน
  • ผู้สูงอายุที่มีการเสียมวลกล้ามเนื้อมากกว่าวัยอื่นอยู่แล้ว หากได้รับโปรตีนไม่เพียงพอก็ทำให้ไม่มีการเสริมสร้างกล้ามเนื้อที่สูญเสียไป

กลุ่มเสี่ยงโรคกล้ามเนื้อลีบ

กล้ามเนื้อลีบกับผู้สูงอายุ

กล้ามเนื้อที่ลีบฝ่อกว่าปกติ เป็นอีกหนึ่งภาวะที่ก่อให้เกิดปัญหากับการดำเนินชีวิต ซึ่งโรคนี้ก็มีกลุ่มเสี่ยง ดังนี้

ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป

  • คนอายุ 60 ปีขึ้นไปมีการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และมักไม่ได้เสริมสร้างโปรตีนทดแทนส่วนที่หายไป
  • คนสูงอายุที่ป่วยหนัก หรือติดเตียงเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อลีบฝ่อ เพราะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อหรือมีการบริหารกล้ามเนื้อ

ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยหนักที่ต้องผ่าตัด

  • ผู้ป่วยติดเตียงเสี่ยงกับกล้ามเนื้อลีบ เนื่องจากไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อในการดำเนินชีวิตพลังงานเท่าที่ควร
  • ผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยที่พักฟื้นหลังการผ่าตัดเป็นอีกกลุ่มเสี่ยง เพราะอยู่ในช่วงที่ร่างกายต้องการพักผ่อน ไม่ได้มีการบริหารร่างกายและกล้ามเนื้อเหมือนคนทั่วไป

เกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงมากกว่า

  • โรคกล้ามเนื้อลีบ เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางโครโมโซม X ซึ่งเป็นโครโมโซมเพศ
  • ผู้ชายมีโครโซม X เพียงตัวเดียว ผิดกับผู้หญิงที่มี 2 ตัวทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง

อาการของโรคกล้ามเนื้อลีบ

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกับโรคกล้ามเนื้อลีบจึงควรสังเกตอาการของตัวเองว่า ร่างกายและกล้ามเนื้อของตัวเองมีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งสามารถสังเกตและตรวจสอบโดยแพทย์ได้ ดังนี้

วิธีการสังเกตอาการ

การตรวจสอบความผิดปกติในร่างกายนั้นดูได้ ดังนี้

  • กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรง
  • กลืนลำบาก
  • สำลักอาหาร
  • เสียงเปลี่ยน
  • ลุกนั่งลำบาก
  • ทรงตัวไม่ดี
  • หกล้อมบ่อย
  • น้ำหนักลดผิดปกติ
  • ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันแล้วเหนื่อยง่าย
  • คุณภาพชีวิตลดลง

การวินิจฉัยโดยแพทย์

นอกจากสังเกตอาการผิดปกติเบื้องต้นแล้ว ควรที่จะเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อระบุโรคที่เป็นให้ชัดเจน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. ประเมินจากร่างกายภายนอก โดยตัวอย่างวิธีการสังเกตคือ แพทย์จะดูว่าร่างกายผอมจนเห็นได้ชัด อาจดูมีมวลกล้ามเนื้อน้อย จับแล้วรู้สึกถึงกระดูก

2. ประเมินจากอาการอื่น ๆ โดยแพทย์จะทำการการซักประวัติเบื้องต้น เช่น อ่อนแรงจนไม่มีแรงยกของ รู้สึกเหนื่อยง่าย หรือปวดกล้ามเนื้อเป็นประจำ ต่อเนื่องเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน

3. ประเมินจากเครื่องมือทางการแพทย์ เช่นการใช้คลื่นไฟฟ้า EMG, การตรวจ MRI, การตรวจการตอบรับของเส้นประสาท

โดยแพทย์จะจำแนกโรคที่คล้ายกันออกไปก่อน เช่น ภาวะพร่องวิตามินบี 12, โรคที่ไขสันหลังระดับคอ โดยการตรวจ แบบ MRI ตรวจเส้นประสาทและตรวจกล้ามเนื้อด้วยคลื่นไฟฟ้า EMG เมื่อวินิจฉัยแล้วจึงนำไปสู่กระบวนการรักษาทางการแพทย์ต่อไป

ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายจากโรคกล้ามเนื้อลีบ

ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อลีบไม่ได้มีปัญหาเรื่องการดำเนินชีวิตประจำวันเท่านั้น ความรุนแรงของโรคนี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น

  • ภาวะหายใจล้มเหลว เกิดจากการที่กล้ามเนื้อในอวัยวะในการหายใจผิดปกติ
  • ไทรอยด์เป็นพิษ เนื่องจากต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ
  • เสี่ยงต่อการสำลัก สาเหตุจากกล้ามเนื้อตรงคอ หรือกล้ามเนื้อที่ช่วยในการรับประทานอาหารผิดปกติ
  • เสี่ยงต่อโรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือว่าโรคพุ่มพวง ซึ่งมาจากระบบภูมิคุ้มกันล้มเหลว

ทางแก้ บำรุง และป้องกันโรคกล้ามเนื้อลีบ

กล้ามเนื้อถือส่วนสำคัญไม่แพ้อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย เพราะการทำกิจวัตรประจำวันหรือการออกกำลังกาย ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จึงควรให้ความสำคัญกับการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อ ทั้งการบำรุง การป้องกัน และแนวทางการรักษา  ดังนี้

“การรักษา” โรคกล้ามเนื้อลีบ

รับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับประทานยาตามคำแนะนำ

  • การทานยา ต้องเป็นยาที่ได้แพทย์เท่านั้น โดยตัวยาจะออกฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันและยับยั้งสารที่เป็นต้นเหตุของการสูญสลายของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย  
  • การทำกายภาพบำบัด จากคำแนะนำของแพทย์แพทย์และนักกายภาพบำบัด เช่น การขยับแขน-ขาขึ้นลงช้า ๆ กางแขน-หุบแขน งอข้อศอก-เหยียด-ข้อศอก งอข้อสะโพก-เหยียดข้อสะโพก ทำท่าบริหารร่างกายแบบนี้เป็นประจำเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ทำงานและแข็งแรงมากขึ้น

ผู้เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจึงควรได้รับการวินิจฉัยของแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เพราะโรคกล้ามเนื้อลีบเป็นอีกโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จึงต้องมีการดูแลและบำรุงให้เหมาะสมกับโรค

“การป้องกัน” โรคกล้ามเนื้อลีบ

ออกกำลังกาย

  • ออกกำลังกายทุก 2-3 ครั้ง/สัปดาห์ อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที
  • ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน เต้น กระโดดเชือก
  • อย่าละเลยการเวทเทรนนิ่ง คือการยกน้ำหนัก หรือการออกกำลังกายที่มีแรงต้าน ด้วยความเข้มข้นที่ไม่มากจนเกินไป 
  • เน้นการออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงและความหนาแน่นของกล้ามเนื้อ

ทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ

การทานอาหารเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะสารอาหารหลักอย่าง “โปรตีน” ที่ช่วยเสริมสร้าง และซ่อมแซมกล้ามเนื้อ โดยมีหลักการทานคือ 

  • ทานโปรตีนให้ได้ขั้นต่ำ คือ 1 กรัม ต่อ น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (หากน้ำหนักตัว 40 กิโลกรัม ให้ทานโปรตีนอย่างน้อย 40 กรัม)
  • ทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา, เนื้ออกไก่ หรือนมวัว
  • ทานโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ซึ่งมีไฟเบอร์สูง ดีกับลำไส้ 
  • ทานโปรตีนที่มี BCAA ช่วยป้องกันการสลายของกล้ามเนื้อได้ดี

ดูแลและตรวจสุขภาพเป็นประจำ

  • ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตหลีกเลี่ยงมลพิษบุหรี่ และแอลกอฮอล์
  • สังเกตร่างกายของตัวเอง และตรวจสุขภาพและรักษาโรคที่เป็นอย่างสม่ำเสมอ

“การบำรุง” ลดปัญหากล้ามเนื้อลีบ 

BCAA ตัวช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ และป้องกันกล้ามเนื้อลีบหาย 

รักษากล้ามเนื้อลีบ

กล้ามเนื้อลีบหรือฝ่อไม่ใช่เรื่องเล็กแต่ดูแลได้ไม่อยาก เพียงเสริมด้วย BCAA กรดอะมิโนจำเป็นถึง 3 ชนิด คือ ลิวซีน ไอโซลิวซีน และวาลีนที่มีประโยชน์กับการดูแลร่างกาย ดังนี้

  • ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อ โดย BCAA มีกรดอะมิโนชื่อ ไอโซลิวซีนที่ช่วยรักษาเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อ จึงช่วยในการรักษามวลกล้ามเนื้อ
  • ต่อต้านกระบวนการสลายโปรตีน กรดอะมิโนไอโซลิวซีน ใน BCAA มีส่วนช่วยลดการสลายของโปรตีน เหมาะกับผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแอลง
  • ฟื้นฟูและลดความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เพราะ BCAA ช่วยให้พลังงานกับร่างกาย และยังเป็นสารตั้งต้นขององค์ประกอบในเซลล์กล้ามเนื้อ จึงมีส่วนช่วยลดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่สูญเสียไปได้

การบำรุงกล้ามเนื้อด้วย BCAA จึงเหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อลีบ เพื่อช่วยเพิ่มกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงเซลล์ในร่างกาย รวมถึงลดอาการบาดเจ็บจากการสูญเสียกล้ามเนื้อ ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคกล้ามเนื้อลีบจึงไม่ควรมองข้าม

สรุป

จะเห็นได้ว่า โรคกล้ามเนื้อลีบ เป็นอีกเรื่องที่ใกล้ตัวคนสูงอายุ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญกับโรคนี้ นอกจากร่างกายที่เริ่มอ่อนแอลงแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิตประจำวันที่อาจบริหารกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ หรือจากอาการป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ติดเตียง ผู้ป่วยที่พักฟื้นหลังการผ่าตัด ซึ่งหากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อควรที่จะรีบเข้าพบแพทย์ทันที แต่หากไม่อยากพบความเสี่ยงจากโรคกล้ามเนื้อลีบต้องรีบบำรุงและป้องกันร่างกายตั้งแต่ตอนนี้ 

«

Product

About

Learn

Pricacy Policy
©O&P Quality Trade Co., Ltd. All rights Reserved.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save