คนที่ดูแลสุขภาพหลายคนต้องรู้จัก “โปรตีน” สารอาหารสำคัญที่มีประโยชน์กับร่างกาย ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ ต้องการควบคุมน้ำหนัก ยิ่งต้องทำความเข้าใจเรื่องของโปรตีน ทั้งปริมาณตามหลักโภชนาการที่ดี รวมไปถึงแหล่งโปรตีนสำคัญเป็นอย่างไรนั้น อ่านเลย
โปรตีนคืออะไร?

คือ สารอาหารที่สร้างมาจากกรดอะมิโนกว่า 20 ชนิด เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ถึง 9 ชนิด คือ ฮิสทีดีน ไอโซลิวซีน ลิวซีน ไลซีน เมทไธโอนีน ฟีนิลอะลานีน ทรีโอนีน ทริปโตแฟน และวาลีน เป็นตัวช่วยสร้างความแข็งแรงให้ผิวหนัง กระดูก กล้ามเนื้อ
หน้าที่ของโปรตีนคืออะไร?
โปรตีนมีหน้าที่ ดังนี้
- ให้พลังงาน ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต
- ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อ กระดูก ผิว ผม เนื้อเยื่อในร่างกาย
- สร้างเอมไซม์ที่มีผลต่อปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ ในร่างกาย
- ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนในเลือด
ต้องทานโปรตีนวันละกี่กรัม?
คนแต่ละช่วงวัยต้องการโปรตีนไม่เท่ากัน โดยสามารถแบ่งความต้องการโปรตีนของร่างกายตามอายุได้ โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมนำไปคูณโปรตีน 0.8-1.0 กรัม ดังนี้

- ทารกแรกเกิด – 11 เดือน : 12-14 (จากน้ำนมแม่)
- อายุ 1-3 ปี : 15-16 กรัม
- อายุ 4-5 ปี : 19 กรัม
- อายุ 6-8 ปี : 24 กรัม
- อายุ 9-12 ปี : 39-40 กรัม
- อายุ 13-15 ปี : 51-55 กรัม
- อายุ 16-18 ปี : 51-61 กรัม
- อายุ 19-30 ปี : 53-61 กรัม
- อายุ 31-50 ปี : 52-60 กรัม
- อายุ 51-60 ปี : 52-60 กรัม
- อายุ 61-70 ปี : 50-59 กรัม
- อายุ > 71 ปี : 49-56 กรัม
- หญิงตั้งครรภ์
- ไตรมาส 1 : ตามช่วงอายุ +1
- ไตรมาส 2 : ตามช่วงอายุ +10
- ไตรมาส 3 : ตามช่วงอายุ +31
- หญิงให้นมบุตร
- 0-5 เดือน : ตามช่วงอายุ +19
- 6-11 เดือน : ตามช่วงอายุ +13
แหล่งโปรตีน ที่เราหาทานได้
สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายอย่างโปรตีน มีหลายแหล่งที่มาด้วยกัน คือ
โปรตีนจากสัตว์
โปรตีนสัตว์ถือเป็นโปรตีนดีต่อร่างกาย เพราะมีสารอาหารอื่น ๆ อีกมากที่ช่วยบำรุงร่างกาย แต่ควรทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะมีคอเลสตอรอลสูง และมีไขมันอิ่มตัวเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น
โปรตีนจากเนื้อสัตว์

- เนื้อหมู มีไขมันเชิงเดี่ยว วิตามินและแร่ธาตุ มีลูซีนซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
- เนื้อไก่ โดยเฉพาะส่วนที่ไม่ติดมันจะช่วยบำรุงกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ไข่ มีกรดอะมิโนจำเป็น มีวิตามินและแร่ธาตุ ซึ่งราคาถูกและหาได้ง่าย เหมาะกับวัยที่กำลังเจริญเติบโต หรือผู้ใหญ่ที่ไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
- เนื้อปลาทูน่า มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ วิตามินบี12 โอเมก้า3 ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง
- เนื้อปลาแซลมอน เป็นอีกเนื้อที่มีโปรตีนสูง ทำให้อิ่มนาน มีโอเมก้า3 ไขมันดีต่อร่างกาย แคลอรี่ต่ำ วิตามินสูง และไขมันอิ่มตัว
- เนื้อวัว เป็นอีกตัวที่มีโปรตีนที่ดีในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แต่ควรเลือกแบบที่ไม่ติดมัน แบบมีไขมันน้อย
- เนื้อเป็ด โดยเฉพาะส่วนอกเป็ด มีโปรตีนสูง แคลอรี่ต่ำน้อยกว่าพวกอกไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว มีแคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินอีกมาก เช่น วิตามินบี1 และวิตามิน2
- หอยเชลล์ อาหารจากทะเลมีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ วิตามิน12 โอเมก้า3 ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแร่ธาตุสำคัญ เช่น เหล็ก สังกะสี และซีลีเนียม จึงเป็นตัวช่วยในการพัฒนาสมอง ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดี กระตุ้นการเผาผลาญในร่างกาย

โปรตีนเนื้อสัตว์แปรรูป
เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเนื้อสัตว์มาแปรรูปในรูปแบบใหม่ ทั้งเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อปลา แบ่งได้เป็น
- แบบไม่ลดขนาด เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ที่ยังมีโครงสร้างคล้ายหรือเหมือนแบบเดิม เช่น แฮม, เบคอน
- แบบลดขนาด เป็นการนำเนื้อนำไปบดให้เล็กลงให้มีขนาดย่อยกว่าเดิม นำมาแปรรูปในแบบอื่น แบ่งได้เป็น
- แบบบดหยาบ เป็นการทำให้เนื้อสัตว์มีขนาดเล็กลงแต่ยังไม่เปลี่ยนแปลงทางกายภาพจนถึงเส้นใยกล้ามเนื้อ เช่น แหนม ไส้กรอกอีสาน
- แบบบดละเอียด มีการนำเนื้อไปสับบดละเอียดถึงเส้นใยกล้ามเนื้อ ตัวอย่างเช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ
โปรตีนจากนม เช่น
- นมวัว มีสารอาหารที่หลากหลาย
- นมแพะ เป็นโปรตีนที่ทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุได้ดีกว่า เหมาะกับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน
- นมควาย เป็นนมที่มีแคลเซียมสูงที่สุด คอเลสเตอเรลต่ำสุด เหมาะกับผู้สูงอายุ
- นมแกะ เป็นนมที่ย่อยง่าย โปรตีนสูง เหมาะกับคนที่แพ้นมวัว
โปรตีนจากพืช

ถือเป็นโปรตีนที่ปลอดภัยกับร่างกาย ดูดซึมง่าย ใยอาหารสูง ไขมันต่ำ ไม่มีคอเลสเตอรอล แคลอรี่ยังน้อยกว่าโปรตีนจากสัตว์ เหมาะกับผู้ที่ดูแลสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก ได้แก่
- โปรตีนถั่วเหลือง (Soybean) มีกรดอะมิโนไลซีนสามารถป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน มีสารไฟโตเอสโตรเจนตัวช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด
- โปรตีนเนยถั่ว (Peanut Butter) หรือเนยถั่วลิสง มีทั้งโปรตีนและไขมันดี แต่ไม่ควรเติมน้ำตาลเพื่อสุขภาพที่ดีและยังทำให้อิ่มท้องนานด้วย
- โปรตีนถั่วแดง (Red Beans) นอกจากจะมีโปรตีนสูง ยังมีโฟเลต แคลเซียม ธาตุเหล็ก เหมาะกับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
- ถั่วลูกไก่ (Chick Pea) เป็นโปรตีนที่อยู่ท้อง มีคาร์บที่ดี ธาตุเหล็ก โฟเลต ฟอสฟอรัส แมงกานีส และสารอาหารที่มีประโยชน์
- โปรตีนจากมันฝรั่ง (Potato) ถือเป็นโปรตีนพืชที่มีคาร์บที่ดี ยังมีโพแทสเซียมและวิตามินที่ดีกับร่างกาย
- โปรตีนจากควินัว (Quinoa) มีคุณค่าพอ ๆ กับน้ำนมแม่ มีใยอาหารสูง ย่อยง่าย ช่วยในการทำงานของลำไส้และการขับถ่าย เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

แหล่งโปรตีนเสริม จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
โปรตีนเช็ค
เป็นเครื่องดื่มผงนำมาผสมกับน้ำ สะดวกรวดเร็ว เป็นอีกตัวที่ช่วยแก้ปัญหาผู้ที่รับโปรตีนหลักไม่เพียงพอ โดยโปรตีนเช็คยังแบ่งประเภท ได้ดังนี้
สกัดจากนมวัว เช่น
- เวย์โปรตีน เป็นโปรตีนที่สกัดจากนมวัว นำเอาคาร์โบไฮเดรตและไขมันออกเหลือเพียงโปรตีนบริสุทธิ์ แล้วไปสู่กระบวนการแปรรูปเป็นผงพร้อมชงดื่ม
- เคซีนโปรตีน เป็นนมผงดัดแปลงเติมเคซีนลงไป ทั้งในรูปแบบของเกลือโพแทสเซียม เคซิเนต ซึ่งเคซีนสองแบบนี้ให้คุณค่าของโปรตีนไม่ต่างกัน
สกัดจากพืช เช่น
- ซอยโปรตีน อาหารเสริมจากนมถั่วเหลืองผ่านกระบวนการผลิตจนกลายเป็นผง
- โปรตีนข้าว ข้าวสามารถละลายได้สูง จึงสามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายทั้งในรูปแบบน้ำปั่น หรือแบบผง
- พีโปรตีน คือโปรตีนจากถั่วลันเตาที่นำมาสกัดจนกลายเป็นผง ที่ช่วยรักษาและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

โปรตีนแท่ง
โปรตีนอัดแท่ง หรือโปรตีนบาร์ คืออีกทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพ มีความสำคัญ ดังนี้
- มีส่วนผสมมากมาย เช่น ถั่ว, ข้าวโอ๊ต, ควินัว, ธัญพืชไม่ขัดสี ฯลฯ ผสมกับคาร์โบไฮเดรต ไขมัน สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ให้คุณค่าทางโภชนาสูง
- พกพาง่าย ทานสะดวกไม่ยุ่งยาก
- ช่วยเรื่องการควบคุมน้ำหนัก และสร้างกล้ามเนื้อ
วิธีเลือกทาน “โปรตีน” ให้สุขภาพดี

ผู้ที่ต้องการสุขภาพดีสามารถเลือกวิธีการทานโปรตีน ตามการแยกกลุ่มได้ ดังนี้
สำหรับคน “ลดน้ำหนัก”
- กินควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย
- รับประทานทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- กินโปรตีนให้เหมาะกับที่ร่างกายต้องการตามช่วงวัย
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ควบคุมแคลอรี่ให้สมดุลกับพลังงานที่ใช้ได้
สำหรับคน “สร้างกล้ามเนื้อ”
- ปริมาณโปรตีนของคนที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อ อยู่ที่ 2-3 กรัมต่อน้ำหนักตัว และแบ่งให้เท่ากันในแต่ละมื้อ
- เลือกเวลาการทานโปรตีน แบ่งได้ตาม 4 ช่วงเวลา คือ ช่วงเช้าเพราะร่างกายจะดูดซึมไปใช้ได้ดี, ช่วงท้องว่าง โดยเพิ่มปริมาณโปรตีนเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้ร่างกาย, หลังออกกำลังกาย เพราะร่างกายต้องการนำไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอหลังการออกกำลังกาย, ช่วงเย็นก่อนนอน เพราะร่างกายจะนำไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในช่วงที่หลับตอนกลางคืน
- ทานเนื้อสัตว์ ไข่ นม ในปริมาณที่มากกว่าคาร์โบไฮเดรต เพราะเป็นสารอาหารที่มีโปรตีนสูง เหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อ
- เลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโปรตีน เหมาะกับคนที่ดูแลตัวเอง แต่ไม่ค่อยมีเวลาต้องการความสะดวกรวดเร็ว เพราะทำให้ร่างกายได้รับโปรตีนที่พอเหมาะกับร่างกาย
สำหรับคน “สูงอายุ”

- ผู้สูงอายุเหมาะกับโปรตีนที่มีเนื้ออ่อนนุ่ม
- ต้องเลือกไขมันที่ไม่ติดหนัง และมีไม่มีไขมัน
- ตัวอย่างโปรตีนที่เหมาะกับผู้สูงอายุ เช่น เนื้อปลา, ไข่, นม ,น้ำเต้าหู้, ธัญพืช
- ไม่ทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมากก่อนนอน เพราะจะทำให้นอนไม่หลับ และอาจทำให้ไตทำงานหนักขึ้น
สำหรับคน “ทั่วไป”
- ปริมาณโปรตีนที่คนทั่วไปควรได้รับใน 1 วันคือ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- เลือกแบบที่ไม่มีติดมัน ไขมันต่ำ สลับกับการกินพืช
- ผู้ที่ไม่ได้ทานเนื้อสัตว์ ควรที่จะทานโปรตีนจากพืชและวิตามินบางชนิดที่หาไม่ได้จากที่อื่น เช่น วิตามินบี12
ข้อควรระวังในการทานโปรตีน

แม้การทานโปรตีนจะมีประโยชน์กับการสร้างกล้ามเนื้อของคนเรา แต่หากทานไม่ถูกวิธีโปรตีนเหล่านี้ก็อาจส่งผลเสียกับร่างกายได้เช่นกัน โดยมีข้อพึงระวัง ดังนี้
ไม่ควรทานโปรตีนจากแหล่งเดิมซ้ำ ๆ
- เพราะการทานโปรตีนแบบเดิมซ้ำ ๆ จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเสริมอื่น ๆ ที่มีในแหล่งโปรตีน
- ควรเลือกทานโปรตีนให้เลือกหลากหลาย ทั้งไก่ หมู วัว ไข่ ถั่ว หรือธัญพืชต่าง ๆ
ไม่ควรทานโปรตีนน้อยหรือมากเกินไป
- ในแต่ละมื้อไม่ควรมีโปรตีนเกิน 30 กรัม
- หากรับมากเกินไปจะทำให้ร่างกายดูดซึมไม่หมด ตับและไตอาจทำงานหนัก
- หากได้รับน้อยเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะขาดโปรตีนได้
- อาจทำให้แผนการควบคุมน้ำหนักล้มเหลว
ไม่ควรทานโปรตีนก่อนนอน
- ทานโปรตีนก่อนนอนในปริมาณมากเพราะจะทำให้นอนไม่หลับ
- ทำให้ตับและไตทำงานย่อยโปรตีนหนักเกินไป
ศึกษาข้อมูลโดยละเอียด ก่อนเลือกซื้ออาหารเสริมโปรตีน

- การได้รับโปรตีนจากอาหารเสริมมากเกินไปอาจเกิดสิวได้
- การได้รับโปรตีนจากอาหารเสริมมากไปทำให้ตับและไตเสียหาย
- หากได้รับโปรตีนมากไปแล้วไม่ออกกำลังกาย ทำให้น้ำหนักตัวขึ้น และถูกนำไปทิ้งผ่านทางไต
- ผู้ที่แพ้แลคโตสอาจมีอาการปวดท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
- ผู้ที่แพ้นมถั่วเหลืองหรือโปรตีนจากพืช ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
- อาหารเสริมบางชนิดมีน้ำตาลมากเกินไป ไม่เหมาะกับผู้เป็นเบาหวานกับโรคอ้วน
ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มี BCAA

ลอง Nutriflow สูตรโปรตีนพืช ที่มี BCAA
BCAA ย่อมาจาก Branched-Chain Amino Acids ซึ่งประกอบไปด้วย Leucine, Isoleucine, และ Valine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อและฟื้นฟูร่างกายหลังจากการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมทางกายที่ต้องใช้พลังงานมาก
อาหารทดแทนสูตรครบถ้วน Nutriflow มีโปรตีนสูงถึง 17 กรัม จากพืช 3 ชนิด และสารอาหารอื่น ๆ ที่สมดุล เหมาะกับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะ มีส่วนผสมของ BCAA ที่ช่วยลดการสลายของกล้ามเนื้อ “เหมาะสำหรับผู้สูงวัย” และ นักกีฬา ผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย เพราะช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บหลังออกกำลังกายได้ดี
โดย BCAA เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เอง การทานอาหารเสริมโปรตีนอย่างเดียวคงไม่พอ ควรเลือกสูตรที่มี BCAA เป็นส่วนเสริม เพื่อให้การทานโปรตีนมีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างสุขภาพกล้ามเนื้อที่แข็งแรง
ข้อดีของ BCAA
- ฟื้นฟูความเหนื่อยล้า สำหรับผู้ที่ใช้กล้ามเนื้ออย่างหนักเป็นประจำ เช่น นักกีฬา การทาน BCAA ช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่อง
- ลดโอกาสการสลายของกล้ามเนื้อ เหมาะกับผู้สูงวัย ที่มีภาวะพร่องโภชนาการ กล้ามเนื้อลีบหาย รูปร่างผอม ช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ มวลกล้ามเนื้อแข็งแรง
- ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ เสริมฟื้นฟูมวลกล้ามเนื้อ เหมาะสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด ผู้ป่วยช่วงพักฟื้น หรือผู้ที่ได้รับอาการบาดเจ็บจากกล้ามเนื้อแบบเรื้อรัง

สรุป
จะเห็นได้ว่าการทานโปรตีนเป็นเรื่องที่ทุกคนควรศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเนื้อสัตว์และพืชบางชนิดมีโปรตีนและสารอาหารแฝงไม่เหมือนกัน การได้รับโปรตีนที่มากหรือน้อยเกินไปยังส่งผลเสียกับร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวจนอาจกลายเป็นโรคร้าย ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อจึงควรวางแผนการทานโปรตีนให้เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากการทานโปรตีนมากที่สุด