ผู้สูงอายุอาจมีความเสี่ยงจากการที่อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเสื่อมโทรมตามกาลเวลา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการและโรคต่าง ๆ ตามมา หนึ่งในนั้น คือ อาการท้องเสีย ท้องร่วง ที่ผู้สูงอายุหลายคนต้องเผชิญอยู่บ่อยครั้ง คำตอบนี้หาได้ในบทความนี้
ท้องเสียเรื่องใหญ่ สาเหตุคืออะไร
อาการท้องเสีย หลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงเรื่องเล็ก จึงไม่ได้ใส่ใจรักษาและหาวิธีแก้ไขทั้งที่ควรทำ เราจึงรวบรวมสาเหตุที่แท้จริง ของอาการท้องเสียมาให้ตรวจดู คุณหรือเปล่าที่มีความเสี่ยง ดังนี้
ความสะอาดในอาหาร
อาการท้องเสีย โดยทั่วไปมักเกิดจากอาหารที่รับประทานที่ไม่สะอาด มีสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
- ติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคบิด อหิวาตกโรค ฯลฯ
- ติดพิษต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอาหาร
- สารเคมีต่าง ๆ เช่น ตะกั่ว สารหนู
- รับทานพืชที่เป็นพิษต่าง ๆ เห็ดพิษ
ประเภทอาหารที่ทำให้ท้องเสีย

สำหรับคนที่ท้องเสียบ่อย ๆ แต่ไม่รู้สาเหตุ ต้องย้อนกลับมามองประเภทอาหารที่รับประทานว่า เป็นจำพวกที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้ง่ายหรือไม่ ซึ่งอาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียนั้น มักจะเป็นจำพวกปรุงกึ่งดิบกึ่งสุก มีรสจัด วิธีการทำไม่สะอาด หรือปรุงไว้นานแล้ว ซึ่งเป็นแหล่งที่เชื้อโรคจึงเจริญเติบโตได้ดี ตัวอย่างอาหารประเภทนี้ ได้แก่
- ส้มตำ
- ลาบ
- ก้อย
- ยำ
- สลัด
- น้ำแข็ง
- อาหารที่ส่วนผสมของกะทิ
โรคประจำตัว
อีกสาเหตุของอาการท้องเสีย อาจมาจากโรคประจำตัวหรือการทานยารักษาโรคประจำตัวตามคำแนะนำของแพทย์ จึงอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่น
- โรคเซลิแอคหรือการแพ้กลูเตน
- โรคลำไส้แปรปรวน
- โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
- การทานยาโรคเบาหวาน
- การทานยาโรคเลือด
- การทานยาโรคไต
- การทานยาโรคตับ
- การทานยาโรคหัวใจ
สาเหตุที่หลายคนมองข้าม
อีกสาเหตุของอาการท้องเสียที่หลายคนมองข้าม ได้แก่
- อากาศที่ร้อนเกินไป เนื่องจากในช่วงหน้าร้อน อาหารมักบูดง่าย การที่อุณหภูมิสูงยังทำให้เชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการท้องเสียท้องร่วงเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
- การย่อยน้ำตาลแล็กโทสในนมของร่างกายได้ไม่ดี ยังก่อให้เกิดอาการแพ้หรือท้องเสีย รวมไปถึงปัญหาเอนไซม์ที่ช่วยย่อยแล็กโทส พบได้ในผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทานนมจากสัตว์บ่อยมากนัก
ทำอย่างไรเมื่อท้องเสีย

เมื่อเกิดอาการท้องเสียโดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ผู้ที่ดูแลผู้สูงอายุเองก็ควรที่จะรีบทำการปฐมพยาบาลหรือแก้ไขอาการเบื้องต้น ดังนี้
- หลีกเลี่ยงทานยาหยุดถ่าย เพราะจะทำให้ร่างหายขับสารพิษออกไม่หมด
- ไม่ทานผลิตภัณฑ์ที่มาจากนม
- งดอาหารรสจัด อาหารหมักและอาหารดอง
- ทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย
- ทานน้ำเกลือแร่ชดเชยที่ร่างกายสูญเสียน้ำไป
- ทานคาร์บอนเพื่อช่วยดูดซับพิษในร่างกายได้ แต่ควรห่างจากการทานยาชนิดอื่นเกิน 2 ชั่วโมง เพราะคาร์บอนจะไปขัดขวางการทำงานของยาต่าง ๆ ได้
- หลังอาการดีขึ้นให้ทานจุลินทรีย์ดี เช่น โยเกิร์ต หรือผลิตภัณฑ์จากโพสไบโอติกส์
ทำไมผู้สูงอายุ จึงท้องเสียบ่อยกว่า

ผู้สูงอายุคือกลุ่มคนที่ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงมากกว่าคนทั่วไป รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายที่ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิม ทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ง่าย โดยเฉพาะอาการท้องเสียซึ่งอาจมาจากสาเหตุ ดังนี้
ระบบย่อยอาหารเสื่อม
ระบบย่อยอาหารของผู้สูงอายุที่เสื่อมลงไปคือ ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาท้องเสีย เพราะ
- อาหารไหลผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะได้ช้าลง
- กระเพาะอาหารที่ความกรดลดลง
- ลำไส้มีการเคลื่อนตัวช้าลง การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่ลดลง
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
ภูมิคุ้มกันของผู้สูงวัยที่ลดลงจึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น โรคบางชนิดที่เคยเป็นแล้ว กลับมาเป็นได้อีกในตอนที่อายุเยอะขึ้น บางรายอาจมีอาการรุนแรงกว่าคนในวัยอื่นรวมไปถึงอาการท้องเสียด้วย เพราะภูมิคุ้มกันมีความสำคัญ ดังนี้
- ภูมิคุ้มกันถูกสร้างด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว
- ภูมิคุ้มกันคือตัวช่วยกำจัดเชื้อโรคร้าย
- ภูมิคุ้มกันช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย
- ภูมิคุ้มกันควบคุมโรคที่ก่อตัวไม่ให้เจ็บป่วย
วิธีแก้ท้องเสีย แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ

อาการท้องเสียในผู้สูงอายุอาจสร้างความยุ่งยากทั้งกับตัวผู้สูงอายุและผู้ที่ดูแลใกล้ชิด ปัญหานี้แก้ได้เพียงป้องกันและแก้ไขด้วยวิธีการต่อไปนี้
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
- กินร้อน คือการรับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่อย่างทั่วถึง ไม่รับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอนามัยทั้งอาหารดิบ อาหารรสจัดเกินไป หากเป็นอาหารที่ปรุงไว้นานแล้วควรที่จะอุ่นก่อนทาน
- ช้อนกลาง หรือช้อนตัวเอง คือการใช้ช้อนที่ตักแบ่งกับข้าวบนโต๊ะ ไม่ใช้ช้อนส่วนตัวตักกับข้าวร่วมกับผู้อื่น หากเป็นไปได้ควรที่จะทานในจานของตัวเอง เพราะบางทีการใช้ช้อนกลางก็อาจได้รับเชื้อโรคจากมือของผู้อื่นที่มาสัมผัสได้เช่นกัน
- ล้างมือ คือการทำความสะอาดมือทั้งสองข้างด้วยแอลกอฮอล์หรือสบู่กับน้ำเปล่าให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและทำกิจกรรมต่าง ๆ ทุกครั้งเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
เลือกอาหารที่เหมาะสม
อีกหนึ่งวิธีแก้อาการท้องเสียคือการเลือกรับประทานอาหาร ทั้งผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ หรือผู้ที่มีอาการท้องเสียแล้วต้องการรักษาตัวเอง มีดังนี้
อาหารที่ทานตอนท้องเสีย

ผู้ที่มีอาการท้องเสียไม่ควรงดการทานอาหาร แต่เลือกเป็นอาหารอ่อน อาหารที่ปรุงสุก ย่อยง่าย และมีน้ำเป็นส่วนประกอบทดแทนที่ร่างกายสูญเสียไป เช่น
- โจ๊ก
- ข้าวต้ม
- ซุปเต้าหู้
- เนื้อปลา
- เกลือแร่
- วิตามิน
เลี่ยงการทานอาหารรสจัดและย่อยยาก เพราะอาจทำให้ระบบทางเดินอาหารระคายเคือง จนอาการท้องเสียแย่ลงได้

ตัวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
ผู้สูงอายุที่ต้องการดูแลตัวเองจึงควรรับประทานอาหารที่สร้างภูมิคุ้มกัน ได้แก่
- ไขมันดี เพราะเป็นตัวสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงได้ พบในไขมันปลา อะโวคาโด รำข้าว
- เห็ดต่าง ๆ เพราะมีสารโพลิแซคาไรด์กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว
- วิตามินซี พบได้ในผลไม้และใยผัก สร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายได้ พบในใยผักและผลไม้เปรี้ยว
- วิตามินดี ตัวสร้างสารแคทเธลิซิดินช่วยทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดี พบในนม ชีส โยเกิร์ต
- วิตามินเอ ช่วยสร้างและเพิ่มความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาว พบในตับปลา แครอท มะเขือเทศ
- โพสไบโอติกส์ คือจุลินทรีย์ชนิดดี พบในนมเปรี้ยวหรือโยเกิร์ต กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เยื่อบุผนังลำไส้เล็กได้
โพสไบโอติกส์ ตัวช่วยแก้ท้องเสียในผู้สูงอายุ

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพด้านลำไส้บ่อยอย่างผู้สูงอายุแก้ได้ไม่อยากด้วยการเติมจุลินทรีย์ดีอย่าง “โพสไบโอติกส์” เพื่อแก้ปัญหาจุลินทรีย์ในร่างกายที่ไม่สมดุล
โพสไบโอติกส์ คืออะไร?
โพสไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ชนิดดีทำหน้าที่ต้านจุลินทรีย์และแบคทีเรียไม่ดีในทางเดินอาหารและลำไส้
ประเภทของโพสไบโอติกส์ ได้แก่
- กลุ่มเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ แลคโตบาซิลลัส ช่วยป้องกันแบคทีเรียไม่ดี ปรับสมดุลลำไส้ลดอาการท้องเสีย และบิฟิโดแบคทีเรียม ตัวช่วยแก้อาการท้องผูกปรับสมดุลลำไส้ได้
- กลุ่มเชื้อยีสต์ เช่น แซคคาโรไมซิส ที่ช่วยแก้อาการท้องเสียได้อีกตัว
โพสไบโอติกส์ หาทานได้ที่ไหน?

สำหรับใครที่อยากเสริมโพสไบโอติกส์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย เลือกอาหารใกล้ตัวทานได้ไม่ยาก ตัวอย่างอาหารที่มีโพสไบโอติกส์ ได้แก่
- โยเกิร์ต เป็นอาหารที่ทานง่าย รสชาติอร่อย แต่ต้องเลือกแบบที่มีโพสไบโอติกส์สด ๆ มีน้ำตาลน้อย ไขมันต่ำ และควรมีปริมาณโพสไบโอติกส์อย่างน้อย 100 ล้าน CFU ซึ่งมีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร
- นมเปรี้ยว ถือเป็นนมอีก 1 ชนิดที่มีโพสไบโอติกส์จากกระบวนหมัก แต่ควรเลือกที่มีโพสไบโอติกส์แบบโยเกิร์ต เลือกแบบที่ผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ที่โพสไบโอติกส์ยังมีชีวิตอยู่ และมีน้ำตาลน้อย ไขมันต่ำ
- คีเฟอร์ หรือนมหมักจากบัวหิมะทิเบต ผ่านกระบวนการหมักจนเกิดโพสไบโอติกส์ที่มีมากกว่าโยเกิร์ต ซึ่งช่วยในการปรับสมดุลลำไส้ กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- คอมบูชา ที่หมักจากชาดำหรือชาเขียว มีทั้งแบคทีเรียดี จุลินทรีย์ดี ยีสต์ดี สารต้านอนุมูลอิสระ กรดแอซีติก วิตามิน แต่ต้องเลือกที่มีมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยอย่างถูกสุขลักษณะ
- ขิงดอง สรรพคุณของสมุนไพรไทยดั้งเดิมอย่างขิงก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะยังมีประโยชน์ด้านอื่น เช่น บรรเทาอาการคลื่นไส้ แพ้ท้อง เป็นต้น

- กิมจิ เครื่องเคียงยอดนิยมจากเกาหลี ด้วยรสชาติที่ดีมีทั้งกรดแลคติกแอซิดแบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส และจุลินทรีย์ที่ดีโดยเฉพาะโพสไบโอติกส์มีประโยชน์ต่อลำไส้
- มิโสะ เครื่องปรุงของญี่ปุ่นจากถั่วเหลือง เกลือ และเชื้อราดีนำมาหมักด้วยกัน ทำให้มีจุลินทรีย์ดี เหมาะกับการนำมาปรุงอาหารเพื่อเพิ่มโพสไบโอติกส์
- เทมเป้ คือถั่วเหลืองกับเชื้อราที่ดีหมักด้วยกัน จนเกิดเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีโพสไบโอติกส์ บรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในวัยทอง รวมไปถึงวิตามินต่าง ๆ เช่น วิตามิน 12 ที่ส่วนใหญ่หาได้จากเนื้อสัตว์
- นัตโตะ ถั่วหมักยังเป็นอาหารที่มีโพสไบโอติกส์อีกชนิด นอกจากนี้ยังป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้อีกด้วย
- ชีสบางชนิด โดยการเลือกชีสเพื่อเพิ่มโพสไบโอติกส์ สามารถเจอได้ใน ชีสเกาด้า มอซซาเรลลาชีส เชดด้าชีส
แนะนำทางเลือกใหม่ อาหารดีที่ลำไส้ชอบ

โพสไบโอติกส์คืออีกตัวช่วยที่ปรับสมดุลลำไส้ อุดมไปด้วยประโยชน์หลายอย่าง มาดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
- ป้องกันอาการต่าง ๆ เกี่ยวกับลำไส้ เช่น ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ โดยโพสไบโอติกส์จะเข้าไปช่วยปรับสมดุลระบบทางเกิดอาหารกับลำไส้ ขัดขวางการเจริญเติบโตของเชื้อโรคและจุลินทรีย์ไม่ดี
- ลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพราะโพสไบโอติกส์จะเข้าไปปรับสมดุลลำไส้ ไม่ให้เกิดแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งตัวร้าย
- บรรเทาโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน เนื่องจากโพสไบโอติกส์หลายตัวช่วยกระตุ้นการย่อยอาหาร โดยการสร้างเอนไซม์ ทำให้ลดความเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนไปด้วย
- สร้างภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเกิดภูมิแพ้ การที่ร่างกายเสียสมดุลเรื่องจุลินทรีย์ในลำไส้ทำให้ ระบบการทำงานของภูมิคุ้มกันบกพร่อง การได้รับโพสไบโอติกส์อย่างเพียงพอช่วยปรับสมดุลภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ลดความเสี่ยงการเป็นภูมิแพ้ น้ำมูกไหล ผื่นแดงต่าง ๆ
- ลดอาการอักเสบ โดยโพสไบโอติกส์อย่าง แลคโตบาซิลลัส ช่วยลดการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะได้

สรุป
ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพถดถอยลง รวมไปถึงอวัยวะและระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะระบบการย่อยอาหารและลำไส้ อาจเกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และอาการท้องเสีย
อาการท้องเสียอาจเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความสะอาดในอาหารที่อาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนมาด้วย, การทานยารักษาโรคประจำตัว, อากาศที่ร้อนเกินไป เมื่อต้องเจอกับปัญหาเหล่านี้ประกอบกับร่างกายที่ความแข็งแรงเริ่มลดลงของคนสูงวัย จึงทำให้ท้องเสียได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น
ปัญหาท้องเสียป้องกันได้ไม่ยาก เพียงรับประทานอาหารที่ปรุงสุก รักษาความสะอาด รวมถึงสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพิ่มขึ้นด้วยวิธีข้างต้น ก็จะทำให้ร่างกายมีความแข็งแรงห่างไกลจากโรคร้ายต่าง ๆ นอกเหนือจากอาการท้องเสียได้อีกด้วย ผู้ที่ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงจึงควรหมั่นดูแลตัวเองและสังเกตความผิดปกติอยู่เสมอ